5856 Views |
กลับมาเจอกันอีกครั้งกับบททดสอบสินค้าใหม่ล่าสุดจาก NAD น้องเล็กสุดในตระกูล Hybrid Digital ที่มาพร้อมภาค DAC คุณภาพสูง หลายๆครั้งเราจะเห็นการออกแบบอินติเกรตเตด แอมป์ ของ NAD ที่มักมาแต่ละครั้งสร้างความประหลาดใจให้เราได้เสมอครับ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ครั้งแรกที่เห็นจากเว็บไซต์ในต่างประเทศ ยังคิด เอ๊ะ...มีโมเดลนี้ด้วยเหรอนี่ แต่ถ้าเทียบรุ่นกันแล้ว กับแอมป์ยุคอะนาล็อกที่ออกมาก่อนหน้านี้มันขาดหายไปรุ่นหนึ่งจริงๆเลยครับ
หลังจากที่ทิ้งปริศนามาสักสอง-สามปี ทาง NAD ก็แย้มพรายออกมาในโมดล C 328 รูปร่างหน้าตาจะละม้ายคล้ายกับรุ่นพี่ C 338 มากที่สุด ทั้งรูปร่างหน้าตาและขนาดของตัวเครื่อง ที่เท่ากันเป๊ะๆ ถ้าเอามาวางข้างกันแล้ว ไม่ได้ดูชื่อรุ่นเรียกว่า ยกผิดยกถูกได้เลยงานนี้
มาทดสอบรอบนี้ ผมมีรูปถ่ายแบบ Unbox ให้ดูกันเลยว่าเครื่องใหม่เอี่ยม มาพร้อมกับเครื่องที่ส่งทดสอบกับทางสมอ.เลย และผมจะทยอยอัปโหลดวิดีโอเสียงให้ฟังกันด้วย ถ้าไม่ติดลิขสิทธิ์เพลงกันเสียก่อนครับ กล่องสีน้ำตาลอ่อนโลโก NAD สกรีนมาสวยงาม แกะกล่องมาเจออุปกรณ์ตามมาตรฐาน บรรจุแน่นเอียดเลย มีซองพลาสติกบรรจุแผ่นพับแสดงรายละเอียดเบื้องต้นการติดตั้งเครื่องครั้งแรก มีรีโมทขนาดกะทัดรัด 1 อัน พร้อมเสารับสัญญาณบลูทูธขนาดเล็ก 1 อัน สายไฟเอซีแบบ 3 ขาอย่างดีอีกหนึ่งเส้น ส่วนใครอยากได้คู่มือก็ไปโหลดไฟล์ตามลิงค์ที่แนบมานี้เลยครับ
https://nadelectronics.com/wp-content/uploads/2017/10/C328_eng_OM_v08.pdf
ที่นี้มาดูสเปคคร่าวๆกันก่อนครับ ว่าที่บอกว่าเหมือนกัน เหมือนอย่างไร แล้วต่างกันอย่างไรบ้าง ผมเปิดดูสปคเต็มจากข้อมูลของทาง NAD ก็ยอมรับว่า ทั้งสองรุ่นนี้เหมือนกันยันสเปคเลย ทั้งกำลังขับ 50 Wrms ต่อข้างเหมือนกัน ใช้ภาคขยายที่เป็น Class-D ใช้บริการเอาต์พุตสเตจจาก Hypex UCD แบบเดียวกับภาคขยายในรุ่นใหญ่ C 388 กันลย ที่ใส่ภาคเพาเวอร์ ซัพพลาย ขนาดใหญ่ที่สามารถปั๊มกระแสให้แอมป์นั้นมีกำลังสำรองชั่วคราวไปถึง 210 วัตต์ เรียกว่าแฟนๆ NAD ที่ชอบฟังเพลงคลาสสิคที่ช่วงโหมโรงต้องการกำลังขับสูงๆ เจ้า NAD C 328 ไม่น่าจะทำให้ผิดหวังกันครับ
มาดูฟีเจอร์หลักของตัวนี้กันครับ รองรับการเล่นพลงสตรีมมิงจากบลูทูธทางด้านอินพุตก็ให้มาทั้งดิจิทัลและอะนาล็อกครบๆ แบ่งเป็นดิจิทัล อินพุต 4 ช่องสัญญาณ แบบ Coax 2 ช่อง Optical 2 ช่อง ช่องอะนาล็อกมีให้ 2 ช่อง คือ Streaming กับ TV และอีกช่องที่ขาดไม่ได้ คือช่อง Phono แบบ MM สำหรับหลายคนที่หันมาฟังเครื่องเล่นแผ่นเสียงกันยอะขึ้นจนน่าแปลกใจครับ ทาง NAD ก็ไม่ได้ปล่อยให้ลูกค้าต้องเดียวดาย บรรจงใส่ภาคขยายหัวข็มเอ็มเอ็ม คุณภาพสูงมาด้วย ทำให้ไม่ต้องไปควานหากล่องปรีโฟโนภายนอกมาต่อให้ยุ่งยากเสียเวลาอีก
และช่องต่างๆตามสเปคที่ระบุมา ทุกท่านดูในรูปตามได้เลยครับ เรียกว่า เล็กพริกขี้หนูครบครันจริงๆ อุปกรณ์ที่ติดตั้งมาล้วนเป็นแบบเดียวกับเครื่องรุ่นใหญ่ของทาง NAD เลย ไม่มีการลดสเปควัสดุต่างๆทั้งขั้วอินพุท RCA แบบชุบทองอย่างดีแวววาวสวยงาม และขั้วลำโพงขนาดใหญ่เสียบแจ็คบานาน่าสายลำโพงได้แน่นหนามาก ด้านหน้าก็เรียบง่ายมีปุ่ม Power สำหรับปิด-เปิดเครื่อง ช่อง Phone 6.3 สำหรับท่านที่ต้องการฟังเพลงกลางคืนไม่ต้องรบกวนคนรอบข้าง ถัดมาเป็นปุ่มสองปุ่มซ้าย-ขวาสำหรับเลือกแหล่งโปรแกรมที่ต้องการฟัง ติดๆกันก็จอดิสเพลย์ที่แสดงสถานะแหล่งโปรแกรมที่ท่านเลือกฟังอยู่ ณ ขณะนั้น ถัดมาเป็นปุ่ม Bass EQ สำหรับคนที่พิสมัยการฟังเสียงทุ้มแบบสะใจ หรือนำไปใช้กับลำโพงที่ไม่ได้เน้นปริมาณเสียงทุ้ม ฟังก์ชันอันนี้ใช้ได้ผลดีเลยครับ สุดท้ายก็เป็นตัวโวลูมขนาดใหญ่แบบดิจิทัลหมุนได้รอบตัวเอง
มาถึงการทดสอบเรื่องคุณภาพเสียงแบบไม่ต้องหลับตาฟังเพ่งกระแสจิต ผมจัดชุดง่ายๆแบบงบประมาณไม่เกินสามหมื่นบาท ราคาเครื่อง ณ วันที่ผมทำการทดสอบเขียนบทความนี้ ทางโคไน้ซ์ฯราคายังไม่ได้กำหนดเลย ถ้าให้ผมประมาณการ ก็น่าจะหมื่นกลางๆ เทียบกับ C 338 ที่ราคาสองหมื่นบาท นำมาจัดชุดกับลำโพงได้หลากหลายมาก ผมขอยกตัวอย่างคร่าวๆดูครับ เผื่อเป็นแนวทางเข้าไปทดลองฟังตามสาขาต่างๆ ในเรทราคาลำโพงไม่ถึงหมื่นนี้ต้องยกให้ PSB Alpha P5 ฟังเพลงไทย เพลงร้อง เพลงลูกทุ่งนี้เข้ากันได้ดีนักแลครับ แต่ถ้าชอบฟังแนวออดิโอไฟล์แบบมิติ ชิ้นดนตรีชัดๆ แนะนำ PSB Imagine XB อันนี้เข้าทางเลยครับ หรือจะดูฟากฝั่ง AE ก็ได้ก็จะได้อีกแนวที่เน้นเสียงกลางที่โปร่งทอดยาว
ในบททดสอบนี้ผมจับคู่กับลำโพงวางหิ้ง PSB Imagine XB ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป และเครื่องเล่นซีดี NAD C 538 รุ่นเล็กสุดที่เพิ่งเข้ามาประจำการได้ไม่นานก่อนหน้านี้ บวกกับสายลำโพง Supra รุ่น XL Annorum แบบซิงเกิล ไวร์ เพราะผมต้องการรีดประสิทธิภาพสูงสุด ว่าอินติเกรตเตด แอมป์ NAD C 328 ตัวนี้ไปได้ไกลสุดกู่ไหม ผมไม่เลือกที่จะทำเว่อร์วังอลังการที่จะเอาสายลำโพงระดับราคาแสนบาทมายกระดับแอมป์หมื่นกว่าบาท อันนั้นก็ไม่ใช่แนวครับ
เริ่มแรกผมเผาหัว หรือเบิร์นเครื่องให้กระแสไฟไหลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายทุกตัวภายในเครื่องอย่างน้อยสักวันสองวัน ถึงค่อยมาจับแนวทางเสียงจริงๆจังๆกันอีกที เอาแบบง่ายสุดเปิดเบิร์นฟังจากการเล่นแผ่นซีดีนี้แหล่ะครับ เมื่อครบชั่วโมงเบิร์น อันดับแรกพบว่าเสียงที่ได้ยินต่างกับช่วงก่อนทำเบิร์น-อินพอสมควรเลยครับ ที่ฟังได้ง่ายๆ ชิ้นดนตรีที่ฟังครั้งแรกเหมือนกระจัดกระจายอยู่ ไม่ค่อยมีมิติด้านลึกสักเท่าไร แต่พอมาฟังรอบนี้หลังการเบิร์น-อิน เป๊ะมาก ทั้งด้านมิติและความชัดเจนของชิ้นดนตรีต่างๆ ปลายเสียงแหลมที่ละเอียดทอดเป็นประกาย ที่แทบไม่น่าเชื่อว่าจะมาจากแอมป์ระดับราคาหมื่นกว่าบาทนี้ ผมถึงบอกว่าแอมป์ตัวนี้อยู่ที่เราเลือกแม็ทชิงกับลำโพงที่เราฟังเลยครับ ชอบเพลงแนวไหนฟังแนวนั้นครับ การไปฟังคำวิจารณ์ต่างๆนานา ตามสื่อต่างๆนั้นก็ดีครับ เราจะได้รู้ว่าวงการเพลงสมัยนี้ไปถึงไหนกันแล้ว บางคนก็ตามฟังแบบไม่ใช่แนวเราก็ขวนขวายหามาฟังจะเสียตังค์เอาเปล่าๆครับ ถ้าไม่ใช่พลงที่เรานิยมชื่นชอบ แต่หลายคนแยกแยะได้ครับ ยิ่งแฟนๆโคไน้ซ์ฯแต่ละท่านล้วนมากล้นประสบการณ์กันทั้งนั้น สังเกตได้จากการพูดคุยกับท่านๆที่มาเยี่ยมชมตามสาขาต่างๆ ไม่ได้หลงไปตามคำวิจารณ์ที่เยินยอเกินจริง เพื่อหวังผลด้านอื่นๆครับ
หลายๆเพลง หลายอัลบัมที่ผมเลือกมาฟัง ก็เลือกเอาที่ฟังเหมือนทุกท่านฟังนั่นแหล่ะครับ อย่าง Jazz at the Pawnshop ที่ผ่านมาก็หลายปี เราก็ยังหยิบมาฟังเพื่อผ่อนคลายใจกัน แผ่นที่ผมมีเป็นแผ่นที่ทำการรีมาสตอร์โดยค่าย FiM อย่างแทร็คคุ้นหู แทร็คที่ 3 High Life นี้เรียกเอาว่าโชว์ศักยภาพแอมป์ขนาดเล็กได้อยู่หมัดเลย เสียงเครื่องเคาะต่างๆ แยกรายละเอียดได้ดีมาก เสียงแซ็กโซโฟนก็แผดสียงได้สมจริงเหมือนนั่งอยู่หน้าเวทีในผับเลย ยิ่งช่วงโซโลกลองนั้น ทั้งลูกส่ง การตีเคาะจังหวะ เพลิดเพลินสมจริง
อีกแผ่นที่ผมเลือกมาฟัง เป็นเพลงร้องแจสส์สุดไพเราะของค่าย Groove Note Record ของญี่ปุ่นที่จับเอาอัลบัมเพลงยอดฮิต Here’s to Ben ของ Jacintha มาลงแผ่นซีดีแบบ MQA-CD ถ้านำไปริปลงเครื่องล่นของ Bluesound VAULT 2i ก็จะได้ไฟล์ไฮ-เรส 24 Bit 88.2 KHz แต่แค่นำมาฟังเลเยอร์ซีดีปกติก็ได้อรรถรสแล้ว ในแทร็ค Somewhere Over The Rainbow ทั้งเสียงร้องที่แทบจะได้ยินเสียงริมฝีปากเธอขยับได้ชัดจนมาก เสียงเคาะเปียนโนแต่ละคีย์ก็ได้ยินความกังวานของเปียนโนที่บันทึกมาอย่างดี จนนึกว่านั่งฟังแอมป์ราคาสามสี่หมื่นอยู่ และอีกหลากหลายแผ่นที่ถูกรื้ออกมาฟัง เพลงไทยเพลงป๊อปสากลทั่วไป สำหรับผมตัว NAD C 328 นี้สอบผ่านมาตรฐานได้ระดับดีเยี่ยมเลย
มาถึงเรื่องสตรีมมิงแบบบลูทูธ เท่าที่ทดสอบผมว่าเหมาะสำหรับการฟังแบบฟังเอาเพลินๆ หรือบ้านมีปาร์ตี้เพื่อนอยากส่งเพลงที่อยากฟังกัน ถ้าฟังแบบจริงๆจังๆออดิโอไฟล์ ยังถือว่าห่างกับคุณภาพจากการฟังซีดีพอสมควรครับ ทั้งในแง่การทอดประกายเสียงแหลม หรือเสียงทุ้มลึกๆ ยังมีมวลเสียงที่คลุมเครืออยู่ ส่วนในช่องอินพุต ดิจิทัลล่ะ เหมาะกับใครที่ต้องการใช้งานยกระดับการฟังเพลงที่มากกว่าปกติ ผมลองเอาต่อกับครื่องเล่นแผ่นบลู-เรย์ ผ่านช่องออปติคอล เพื่อฟังแผ่นคอนเสิร์ต โดยเลือกฟังแบบ PCM Lossless 2 Ch. ธรรมดาได้ยินแล้วเล่นเอาตะลึงได้เลย คุณภาพเสียงจากแผ่นบูล-เรย์นี้ เรียกว่าน้องๆฟังจากแผ่นซีดีเลย แสดงว่าภาค DAC ในแอมป์ NAD C 328 ตัวนี้ ไม่ใช่ DAC ที่แค่แถมมาให้ครบๆ แต่เป็นภาค DAC ที่เอาจริงเอาจังกับการฟังเพลงมาก ใครมีเครื่องเล่ซีดีเก่าๆ ยุคสิบกว่าปีก่อนลองเอามาต่อดูกันได้ครับ ได้ทั้งแบบโคแอ็กเชียลและออปติคอล เผลอๆ ใครวางแพลนถอยเครื่องเล่นซีดีใหม่อาจมีเปลี่ยนใจได้ 555
สุดท้ายช่องต่ออะนาล็อกอีกช่องที่เหลือ ที่เป็นภาคขยายหัวเข็มเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบเอ็มเอ็ม ผมก็ได้ทดลองต่อกับเทิร์นเทเบิลประจำโชว์รูมหอการค้า เป็นเทิร์นเทเบิลของ AR ที่ติดตั้งหัวเข็มแบบเอ็มเอ็มพอดี จึงเอามาฟังได้พอเหมาะพอเจาะ แต่แผ่นที่มีอยู่ เรียกว่าผ่านศึกสงครามมานับไม่ถ้วน แต่ก็ยังพอฟังเป็นแนวทางได้ เสียงที่ได้ออกไปทางอบอุ่นไม่รุกเร้า ได้แนวเสียงวินเทจ มีความเป็นอะนาล็อกสูงมาก พอๆกับปรีโฟโนแยกชิ้นราคาหลายพันบาทของ NAD อย่าง PP2e เลย นับว่าใครที่ยังเก็บฟอร์แม็ทเสียงเพลงแบบต่างๆไว้อย่างดี แอมป์ NAD C 328 ตัวนี้ตอบโจทย์ได้อย่างดีมากเลยครับ หวังว่าปลายปีนี้เครื่องนี้ผ่านกระบวนขออนุญาตทางสมอ.จะเสร็จสมบูรณ์พร้อมขาย ใครมองหาจะเป็นของขวัญให้กับตัวเองช่วงปลายปีนี้ หรือซื้อไปฝากญาติผู้ใหญ่ก็เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงครับ
NAD C 328 เครื่องนี้เป็นอินติเกรตเตด แอมป์ ที่ให้มากกว่าแอมป์สำหรับเริ่มต้นฟังเพลงแบบจริงๆจังๆ ผมการันตีได้ว่าแอมป์จาก NAD Music First เสมอครับ