9285 จำนวนผู้เข้าชม |
นวัตกรรมของเทคโนโลยีแอมพลิฟายเออร์ตัวใหม่นี้พัฒนาโดยบริษัท Purifi โดยนวัตกรรมตัวนี้มีชื่อว่า Eigentakt ที่เปิดตัวในรุ่น M33 integrated amplifier ด้วย ที่เราเคยรีวิวไปแล้ว เราว้าวกับเพาเวอร์แอมป์ตัวนี้มาก และได้คะแนนคุณภาพเสียงจากเราไปถึง 89%
โอเคมาเริ่มส่วนที่สำคัญกันก่อนดีกว่า C 298 แม้ว่าจะมาในรูปแบบโลหะที่ดูเรียบง่าย แต่มันมาพร้อมกับ โมดูลพาวเวอร์แอมพลิฟายเออร์ Eigentakt แบบเดียวกับที่ใช้ใน M33
ดีไซน์ที่เรียบง่ายและกะทัดรัดของ NAD Classic series น่าจะถูกใจแฟนๆ ของแบรนด์ที่มองว่า Master series นั้นออกแบบมาแล้วดูหรูหราเกินไป โดยนำการออกแบบที่เป็นอมตะและใช้งานได้จริงมาใช้กับแอมพลิฟายเออร์ในตัวที่มีชื่อเสียงอย่าง NAD 3020
A Special Power Supply : ภาคพาวเวอร์ซัพพลายแบบพิเศษ
C 298 มี concept การจ่ายไฟแบบเดียวกับ M33 คือคุณจะเห็นสัญลักษณ์สายฟ้าเล็กๆที่ด้านหลังของแอมป์ตรงขั้วต่อของลำโพง ที่จะบอกว่าขั้วต่อสัญญาณบวกอยู่ตรงไหน ส่วนตรงขั้วต่อสัญญาณลบสีน้ำเงินก็จะเห็นอยู่ที่ลำโพงข้างซ้าย ที่เป็นสีน้ำเงินไม่ใช่สีดำเพราะว่าไม่มีสายกราวด์ แนวคิดเบื้องหลังของสิ่งนี้คือ ทำให้การทำงานของ PSU สม่ำเสมอและลดการเพิ่มของสัญญาณรบกวนชนิดเหนี่ยวนำด้วย (crosstalk damping)
ในเรื่องของเสียงหรือเสียงเบสเป็นไปตามที่ NAD อ้างไว้คือ ความย้อนยุคของกาลเวลาจะมาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และจากการวัดผลของเราก็พบว่ามันไปเป็นตามคำกล่าวอ้างนี้
จากประสบการณ์ของเรา สิ่งสำคัญหนึ่งคือเวลาที่เราใช้พาวเวอร์แอมป์ C298 สองตัว หรือพาวเวอร์แอมป์คลาส D อื่นๆ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่เหมาะที่จะเอามาต่อแบบ bi-apming เลย
Cas Oostvogel ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ NAD อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า ข้อเท็จจริงคือตัวแอมพลิฟายเออร์ทีใช้เทคโนโลยีนี้มันเหมือนกันการนำพลังงานของมันออกไปสู่ตัวอื่นๆ เช่นไปยังลำโพงเป็นต้น แต่ยังไงมันก็ค่อนข้างยากสำหรับช่วงความถี่ตั้งแต่กลางและสูงเพราะว่าเกือบ 80 ถึง 90 % ที่พลังงานที่มีอยู่นั้นจะถูกนำไปใช้กับเสียงเบส
ผลที่ตามมาของการต่อลำโพงแบบ bi-amp คือตัว filter output จะพังได้ง่ายมาก ถ้าโชคดีว่าตัวแอมป์ร้อนมากเกินไปก็จะดับตัวเองลงแค่นั้น แต่ถ้าโชคร้ายก็คืออาจจะต้องทำใจและหวังว่ามันจะสามารถซ่อมได้
NAD รู้ว่าควรจะต้องจัดการยังไงกับสิ่งเหล่านี้และก็มาพบว่าการเปลี่ยนโหมดแอมพลิฟายเออร์ให้เป็นโหมดโมโน ซึ่งในโหมดนี้จะใช้กำลังไฟประมาณ 600 วัตต์ต่อช่องสัญญาณที่ 8 โอห์ม
ทั้งหมดนี่แทบจะครอบคลุมเกือบจะทั้งหมดของลำโพงที่จะทำงานได้ ดังนั้นพาวเวอร์แอมป์ที่มีราคาไม่ถึง 2,000 ยูโรต่อหนึ่งเครื่องจัดได้ว่าเป็นอะไรที่คุ้มค่ามาก
Finding Playing Partners Easily : จับคู่กับตัวอื่นได้ง่ายมาก
ด้วยตัว รุ่น C 658 สตรีมมิ่ง พรีแอมป์นี้ เรายังมีคู่เล่นที่เข้ากันได้ดีเหมือนพูดจาภาษาเดียวกัน โดยทำการทดสอบในห้องทั้งกรณี output ที่สมดุลและไม่สมดุล ประกอบกับค่าความเข้ากันของ output impedance และ output voltage ซึ่งเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยราคาประมาณ 1,700 ยูโรทำให้มันก้าวมามายืนในโลกของพาวเวอร์แอมป์ตัวใหม่
แม้ว่าเราจะไปใช้กับตัวพรีแอมป์ตัวอื่นก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน เนื่องจาก C298 สามารถปรับค่า sensitivity ของตัว input ได้ ถ้าคุณกำลังคิดว่าจะตั้งค่า (บางส่วน) หรือติดตั้งการทำงานกับตัวซับวูฟเฟอร์ รุ่น 298 ก็ยังมีพรีแอมป์ระดับบนที่เอาไว้จัดการเรื่องพวกนี้ได้ด้วยเหมือนกัน
การเปิดสวิตช์อัติโนมัติสามารถตั้งค่าได้เพื่อให้ตัวพาวเวอร์แอมป์อยู่นอกระยะ ในกรณีที่พรีแอมป์มีระยะห่างค่อนข้างมาก เราแนะนำให้คุณใช้การเชื่อมต่อแบบ balance XLR จะทำให้สัญญาณรบกวนน้อยกว่า
ทั้งหมดนี่ไม่ใช่ลิสต์ของอุปกรณ์เสริมทั้งหมดนี่ใช้กับพาวเวอร์แอมป์ ถ้าคุณพบปัญหาเกี่ยวกับการต่อระบบกราวด์ คุณสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้โดยการต่อกราวด์ที่ terminal ตรงด้านหลัง
A reinterpretation Class D : การตีความใหม่ของ Class D
โอเค เรามาเริ่มกันว่าทุกอย่างจะทำงานเป็นอย่างไรกันบ้าง
เริ่มแรก มาเริ่มส่วนที่ง่ายก่อนในการติดตั้ง NAD คือการเชื่อมต่อตัว DALI Rubicon 6 BE กับ พาวเวอร์แอมป์ (อ่านรีวิวของเราเกี่ยวกับลำโพงนี้ได้ที่นี่) ค่าตัวประมาณ 3,700 ยูโรพร้อมสายเคเบิลระหว่างตัวพรีแอมป์กับพาวเวอร์แอมป์ ทำหน้าที่เชื่อมเสียงไปยังลำโพงตั้งพื้นที่มีราคาพอๆกัน ซึ่งพบว่ามันทำงานร่วมกันได้ดีมาก
Dali ไม่ได้มีปัญหาอะไรทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพและค่าอิมพีแดนซ์ แต่ว่ามันก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความน่าท้าทายอะไรเลยนะ เพราะตัวลำโพงสามารถแสดงศักยภาพของการทำงานได้ชัดเจนมาก
พลังของ NAD ทำงานได้น่าทึ่งมาก ผสมผสานกันอย่างลงตัว ทำให้เพลงของ Madison Cunningham ที่เปิดในห้อง รู้สึก
”ผูกพัน” สมชื่อเพลงจริงๆ ไม่พบปัญหาอะไรเลยเราได้รายละเอียดของเสียงเธอเต็มๆแบบชัดมาก
แอมป์ NAD ยังเอาอยู่กับเพลง ‘Letter To You’ ของ Springteen ถ่ายทอดเสียงของ Boss ถ่ายทอดแก่ผู้ฟังได้อย่างสนุกสนานและชัดเจนมาก มากไปกว่านั้นยังสามารถช่วยในเรื่องของเพลงที่มีลักษณะที่ซับซ้อนของเพลงได้ดี และควบคุมเสียงเบสจากลำโพง DALI ได้แน่นๆเลย
โอเคมาต่อกันที่ของยากขึ้นอีกหน่อย เราอยากจะลองท้าทายขีดจำกัดของประสิทธิภาพการทำงานพาวเวอร์แอมป์ดู เราก็เลยเอาแก๊งค์อุปกรณ์ NAD ออก และติดตั้งตัวพรีแอมป์ T+A P 3100 ไว้ด้านหน้าและเพิ่มลำโพง โดยเราใช้ลำโพง Gauder DARC 100 เป็นหนึ่งในลำโพงที่เรามักใช้กับทุกอย่างยกเว้นการต่อกับคู่อุปกรณ์อื่นที่ง่ายหน่อย
เหนือไปกว่านั้นด้วยตัว diamond tweeter และใช้ ceramic driver ทั้งหมดมาจากบริษัทที่รู้จักกันดีอย่าง Accuton เป็นสิ่งทีเป็นตัวจูนเสียงได้อย่างละเอียด ดังนั้นมันก็จะสามารถพบอะไรที่ไม่เข้ากันได้ที่อาจจะเจอใน Upstream
การผสมกันนี้ เราจะได้เห็นลักษณะที่พิเศษของ NAD C 298 คือ การสำรองพลังงานที่อยู่ในแอมป์ทำได้ดีและเพียงพอแม้ทดสอบกับห้องที่มีขนาดราวๆ 40 ตารางเมตรก็ตาม และก็สามารถให้เสียงได้ใกล้เคียงกับระบบเครื่องเสียงกลางแจ้ง (PA System) โดยที่ในเพลง Rockin' In A Free World ของ Neil Young เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าฟังแล้วยังค่อนข้างรีแลกซ์อยู่
NAD สามารถควบคุมเสียงเบสของลำโพง Gauder ได้แบบไม่สั่นเลย ทำให้มันโชว์ประสิทธิภาพของมันได้อย่างดี สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ชัดในการผสานกันนี้ที่ต้องยอมรับคือ ความไม่สมจริงซึ่งมาจากสาเหตุในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ทำให้พาวเวอร์แอมป์ให้เสียงที่ค่อนข้างออกไปในโทนสว่าง ด้วยสิ่งนี้เลยเป็นการลบอคติที่มีอยู่2ข้อเกี่ยวกับ Class D พาวเวอร์แอมป์ที่ว่า หนึ่งเรื่องที่วงจรของเค้าไม่สามารถควบคุมลำโพงที่ซับซ้อนได้ สองคือมันมักจะไปลดทอนความถี่ที่สูงขึ้นและสูญเสียรายละเอียดต่างๆไป สรุปแล้ว NAD C 298 พรีเซนท์ตัวเองด้วยคุณสมบัติทั้งหมดที่เราคาดหวังจากตัวพาวเวอร์แอมป์ที่ดีจริงๆ และ ในเรื่องของราคาถือที่ว่ายังอยู่ในระดับกลางๆที่โอเค ซึ่งอันนี้เราก็คุ้นเคยกับ NAD อยู่แล้วในเรื่องของราคา
ฟันธง
ดีไซน์ที่เรียบง่าย เทคโนโลยีล้ำสมัย และเสียงดีมาก ความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในเทคโนโลยี Class D นั้นไม่มีอะไรจะติ และ มาในราคาที่คุ้มค่ามาก! นอกจากนี้ยังได้กำลังขับเหลือๆและความยืนหยุ่นในการใช้งานสูงด้วย