รีวิวเครื่องเล่นแผ่นเสียง NAD C588 จาก Ecoustics

4997 จำนวนผู้เข้าชม  | 



เป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทายไม่น้อยเหมือนกันที่เราจะมีการพัฒนาอะไรสักอย่างหนึ่งในช่วงโควิดแบบนี้ แต่ความเป็นจริงก็คืออุตสาหกรรมแผ่นเสียงสามารถเอาชนะสิ่งนี้ได้ และใช้ข้อดีของการที่ทั้งโลกต้องถูกล็อคดาวน์ให้เป็นประโยชน์กับพวกเค้า

ชาวอเมริกัน มีการซื้อแผ่นเสียงมากกว่า 20 ล้านแผ่นในช่วงครึ่งปีแรกของ 2021 และยอดขายของช่วงครึ่งปีหลังก็ดูทำท่าจะสูงขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย อุปสรรคอย่างเดียวของการเติบโตของแผ่นเสียงน่าจะมีอย่างเดียวคือเรื่องของกำลังการผลิต ผู้ผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงอย่าง NAD ยังบอกว่าไม่เคยเห็นความต้องการเครื่องเล่นแผ่นเสียงเยอะขนาดนี้มาก่อนในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้

เครื่องเล่นแผ่นเสียง NAD C 588 ถือเป็นตัวที่เป็นที่รู้จักและแข่งกันมาสูสีกับ Rega และ Project แต่ว่าก่อนที่คุณจะไปทำความรู้จักอีกสองยี่ห้อนั้น ผมอยากให้คุณลองมาดู NAD ก่อนเพราะว่า ผมประทับใจคุณภาพมันมากหลังจากที่ซื้อมาได้สองเดือนแล้วก็มาทำรีวิวตัวนี้

NAD ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเสียง Hi-End แทบจะทุกประเภทตั้งแต่ได้มีการดำเนินธุรกิจมาในประเทศอังกฤษปี 1972 ก่อนที่ NAD จะย้ายไปปักหลักที่แคนาดา และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ Lenbrook Group ซึ่งรวมถึง PSB และ Bluesound ด้วย

NAD โด่งดังในเรื่องของยอดขายไม่ว่าจะเป็นแอมพลิฟาย, พรีแอมป์, เครื่องเล่น CD, จูนเนอร์ โพรดักต์ในปี 2021 ยังรวมไปถึงพวกแนวสตรีมมิง, เฮดโฟน, ระบบโฮมเธียเตอร์ แม้แต่โพรดักด์ดั้งเดิมอื่นๆ อย่างตัว  C 316BEE V2 integrated amplifier ที่เราได้รีวิวไปแล้วก่อนหน้านี้

NAD C 588 เป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เห็นได้ชัดว่ามีการเน้นในเรื่องของการสตรีมผ่านดิจิทัลเน็ตเวิร์ก พูดได้เลยว่าในวงการอุตสาหกรรมเสียงนี้ NAD เหมือนยักษ์ที่ตื่นขึ้นมาจากการหลับใหลและออกมาเล่นโพรดักต์แนวนี้เองแล้ว

ถ้า Rega Planar 2 (675$ที่ Amazon) และ Pro-Ject Debut Pro (999$) ทั้งสองรุ่นนี้ถือเป็นรุ่นที่ให้เสียงดีที่สุดในออพชั่นเท่านี้ที่ราคาต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ แล้วสำหรับ NAD C 588 ที่มาในราคา 899$ล่ะ ?

ตอนที่ผมแกะกล่อง รู้ทันทีเลยว่า C 588 ถูกผลิตขึ้นจากการคอลแลปกับผู้ผลิตในยุโรป เนื่องจากดีไซน์ของมันในส่วนของโทนอาร์มที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์และจุดเล็กๆน้อยๆอย่างอื่นที่เป็นตัวอธิบายได้ว่าทำไม NAD ถึงทำออกมาได้ราคาต่ำกว่า 900$

แต่ว่าคุณอย่าเพิ่งคิดว่าเอ้ะ NAD ทำเครื่องเล่นแผ่นเสียงโดยร่วมมือกับคู่แข่งแล้วก็เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้ว NAD มีหลายๆฟีเจอร์ที่ทำให้เจ้าเครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวนี้คุ้มค่าเงินกว่า Rega และ Pro-Ject เสียอีก

Under the Hood

ตัวแท่นเครื่องของ C 588 มีความทนทานมากผลิตจาก MDF ที่มีแข็งแรง ตัวฐานมีน้ำหนัก 20 ปอนด์ และคุณจะสัมผัสได้ถึงความแตกต่างในด้านคุณภาพการผลิตเมื่อเทียบกับตัวฐานแบบอื่นๆ ที่มีราคาระหว่าง 400-800$ NAD ได้ทุ่มเทความพยายามในการออกแบบสิ่งนี้ และถือว่าคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปถ้าเราคิดจากดีไซน์ในการออกแบบและความทนทาน

จานหมุนที่เป็นกระจกไม่ใช่สิ่งที่ผมชอบเลย เพราะด้วยเสียงที่ออกมากับความบางของมันยังไงก็รู้สึกว่าทำให้ต้องมาปรับแก้ตัวอื่นๆเวลาเล่นแผ่นเสียง แต่ C 588 ใช้กระจกที่มีมวลน้ำหนักมากมาพร้อมแผ่น mat แบบสักหลาด นั่นทำให้เกินความคาดหวังของผม  

Rega ใช้เวลา และค้นคว้า ทำวิจัยหลายปีเพื่อที่จะปรับแต่งจานหมุนกระจก (มุมด้านนอกมีความหนาขึ้นและหนักกว่าซึ่งทำให้เกิด flywheel effect) ที่สามารถทำให้ใช้กับแท่นที่มีน้ำหนักเบาได้ และมันก็เวิร์คกับฐานแผ่นเสียงของพวกเขา ซึ่งยอดขายเป็นตัวการันตีว่ามันดีจริงๆ

จานหมุนกระจก ขนาด 10 มม. ของ NAD มีความเสถียรมาก (ได้ประโยชน์มาจากของการประกอบจานรองและมอเตอร์ DC แบบแยก) และตัวฐานเครื่องมีความเสถียรในเรื่องของสปีดที่ดี

C 588 ยังมีแท่นรองโลหะที่หนาและและมีแรงเฉื่อยมาก พร้อมระบบแยกการสั่นสะเทือนในตัวชุดประกอบ เครื่องเล่นแผ่นเสียงนี้ใช้โทนอาร์มที่ทำจาก คาร์บอนไฟเบอร์ขนาด 9 ที่มาพร้อมกับตัวยึดหัวเข็ม (head shell) ที่ปรับได้ และมีตุ้มถ่วงน้ำหนักและป้องกันการเหวี่ยงของหัวเข็ม (anti-skate)

การติดตั้งตุ้มถ่วงน้ำหนักไม่ได้ยากเกินขนาดนั้น แต่การตั้งค่าด้วยสไตลัสที่ให้มานั้นค่อนข้างต้องใช้ความอดทนพอสมควรในการติดตั้งเนื่องจากการตั้งค่าตั้งได้กว้างเกินไป ผมเลยเปลี่ยนเป็น เกจของ NAD Shure SFG-2 ซึ่งมีการตั้งค่าที่แม่นกว่าและให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องมากขึ้น

การปรับแต่ง 2M Red ทำได้ง่ายด้วยการดีไซน์ที่ดีของตัวยึดหัวเข็ม ตบมือให้กับ NAD ที่ทำให้การติดตั้งตรงนี้ง่ายดายมาก



ผู้ใช้งาน C588 จะไม่ซัฟเฟอร์กับการตั้งค่าต่างๆ ด้วยการที่เค้ามีการติดตั้งตัวหัวเข็ม Ortofon 2M Red ไว้ล่วงหน้าแล้ว ผมต้องขอปรบมือให้กับ NAD ในความใจดีของพวกเขา ที่เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมในการติดตั้งไว้ให้ผู้ใข้งานเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ผู้ผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงทุกเจ้าหรอกนะที่จะให้อุปกรณ์มาพร้อมขนาดนี้

ฝาครอบเครื่องเล่นแผ่นเสียงทำงานได้เป็นอย่างดี ไม่มีครั้งไหนเลยที่ผมรู้สึกว่ามันกระทบต่อการเล่นเพลงของเครื่องเล่น


Lift is all in the setup

NAD C 588 มาแทนที่ Thorens เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่รักของผมที่ผลิตโดย Vinyl Nirvana ที่อยู่กับผมมามากกว่า 6 ปี ผลที่ได้ก็ว้าวไม่น้อย ผมพบว่า 2M Red ไม่เหมาะกับ Ortofon 2M Black กับ Thorens TD-160 Super หรือ Dynavector 10×5 บน Thorens TD-145 แต่ทั้งหมดทั้งมวลในราคา 899 ดอลลาร์ก็เกินความคาดหมายอยู่เหมือนกัน

 
ถ้าไม่สนว่าจะเป็นรุ่นแบบไหน C 588 ทำงานได้มีประสิทธิภาพและว้าวมากในเรื่องของการเล่นแผ่นเสียง และจะยิ่งน่าประทับใจมากขึ้นถ้าคุณเลือกใช้หัวเข็มที่ราคาน่ารักแบบ phono ตรงแป้นยึดหัวเข็มที่มีราคาเพียง 99 ดอลลาร์เท่านั้น



Phono พรีแอมป์ประกอบไปด้วย Pro-Ject Tube Box DS2, Croft Phono Integrated และ ส่วน internal phono ของ NAD C 316BEE integrated amplifier  NAD C588 ให้เพลงที่ไพเราะผ่าน Q Acoustics 3050i , Magnepan LRS และลำโพง PSB Alpha P5 – โดยที่ 3050i เป็นตัวที่ผมชอบที่สุดจากทั้งสามตัวที่เชื่อมต่อกับชุด NAD C 316BEE/Pro-Ject

ถ้าเกิดมีใครบอกคุณว่าเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะสามารถทำระบบเสียงที่ดีในราคาต่ำกว่า 3,000 ดอลลาร์ได้ มาดูกันว่าไม่ใช่แบบที่เขาพูดกันแน่ๆ

Everybody counts, or nobody counts…

ผมทดสอบฟัง Freddie Hubbard’s Hub-Tones (Blue Note 80 Vinyl, ST-84115) C 588 โชว์ศักยภาพที่แท้จริงที่ผมไม่คิดว่าจะได้ยินจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงในระดับเริ่มต้น ที่ปกติมักจะให้เสียงที่ค่อนข้างแบนและไม่มีมิติในความรู้สึกของผม

NAD (ถึงแม้จะใช้ 2M Red ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวเข็มที่ผมชอบน้อยที่สุด) ให้เสียงดนตรีในจังหวะที่เสียงเบสกำลังพอดี มีความละเอียดค่อนข้างดี และให้รายละเอียดที่พอดีที่จะทำให้ลำโพงอย่าง 3050i ใช้งานได้คุ้มประสิทธิภาพ  3050i เป็นลำโพงที่เจ๋งที่ต้องการแค่มีการอัพเกรดเฟิร์มนิดหน่อยเพื่อที่มันจะได้โชว์ศักยภาพของมันได้เต็มที่ C 588 พิสูจน์ให้เห็นว่าถ้ามันได้ทำงานร่วมกับ C 316BEE หรือ Tube Box DS2 มันยิ่งทำงานได้ดีขึ้นเมื่อใช้ระบบที่แพงขึ้น

Hustlin' ของ Stanley Turrentine (ซีรี่ส์ Blue Note Tone Poet Series, ST-84162) เพลงนี้อวดเสียงโทนหนาๆที่มาคู่กับเสียงสูง tenor ของ sax C 588 ให้เสียงที่มีมิติ ความคมชัดทั้งเสียงจากTurrentine, Shirley Scott (ออร์แกน) และมือกีตาร์ Kenny Burrell ก็ได้ยินเสียงและมีฟีลเหมือนกับว่าเหมือนไปนั่งอยู่ในห้องเดียวกันกับผู้ฟัง

C 588 ขึ้นชื่อในเรื่องของความเงียบในการทำงาน คือคุณจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยนอกจากเสียงดนตรี เสียง noice คือแทบจะไม่ได้ยิน เครื่องเล่นราคาไม่แพงตัวนี้จะทำให้คุณได้ยินเสียงที่ชัดเจนในทุกๆการ record แน่นอนรวมถึงเสียงที่แย่ด้วย อย่างเช่น เสียงที่ไม่ได้ถูกแปลงให้เป็นเสียงที่มีคุณภาพที่ดีด้วยเช่นกัน

 
ผมลองหัวเข็ม phono แบบอื่นอีก2อันกับ C 588 และก็พบว่าเจ้า C 588 ตัวนี้มีความสามารถที่จะแสดงศักยภาพได้มากกว่านี้ขึ้นอยู่กับว่าราคาของหัวเข็มที่ใช้ว่าจะดีมากน้อยแค่ไหน

ก่อนที่จะจบรีวิวนี้แล้วไปนอน ผมเปลี่ยนตัวหัวเข็มเป็นแบบ MM และแยกมันออกจากระบบเสียงของผมโดยใช้ ZaZen isolation platform จาก IsoAcoustics เพื่อที่จะลองทดสอบดูว่าเครื่องเล่นแผ่นเสียงนี้จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน แล้วมันโอเคหรือเปล่าที่จะบอกกับคนอ่านรีวิวว่าให้จ่าย 1,500 ดอลลาร์สำหรับการคอมบิเนชั่นหัวเข็มพวกนี้  ตัวที่ผมใช้คือ Thorens TD-145 กับ หัวเข็มรุ่น Dynavector 10×5 ดังนั้นราคาในการเปรียบเทียบจึงค่อนข้างไม่ต่างกันมาก  Thorens ทำงานได้ดี ลงรายละเอียดของจังหวะได้ดี แต่ก็มีจุดที่ต้องยอมรับความแตกต่างของราคาของหัวเข็มที่อยู่ที่ประมาณ 300 ดอลลาร์ และการอัพเกรดรุ่นต่างๆโดย Vinyl Nirvana

เห็นได้ชัดเลยว่า C 588 สามารถให้เสียงที่จริงแท้ทั้งสามอัลบั้ม เสียงมีความชัดเจน รายละเอียดชัด และอบอุ่นในเลเวลกำลังดีที่ทำให้ผมเปลี่ยนจาก Yamaha กับ หัวเข็ม Nagaoka เลย Nagaoka MP 110 ถือเป็นหัวเข็มที่ใช้งานได้ยาวๆกับฐานตัวนี้และกับของวินเทจ Yamaha เลย

จริงๆไม่มีอะไรจะติในเรื่องของการทำงานเครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวนี้ ในเรื่องของการให้เสียงเลย และผมค่อนข้างช็อคนิดหน่อยด้วยซ้ำเมื่อผมลองอัพเกรดตัวหัวเข็มและพบว่าการทำงานดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในการเล่นแผ่นเสียงของคุณเลยแหละ ตกลงคุ้มมั้ยที่จะซื้อ NAD C588 กับ หัวเข็ม Ortofon 2M Red และก็เพลิดเพลินกับมัน ? ไม่ต้องถามเลย จัดเถอะ!  แต่คุณจะว้าวกว่านี้อีกเยอะถ้าคุณใช้ Nagaoka หรือ 2M Blue

"ตกลงเครื่องเล่นแผ่นเสียงราคา 900 ดอลลาร์จะสามารถสู้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียงราคาต่ำกว่าพันดอลลาร์แบบชนะขาดลอยมั้ย?  บอกเลยว่าไม่เห็นฝุ่น"

 

NAD C588 : ราคาประมาณ 35,000 บาท 

คาดว่าจะวางจำหน่ายกลางปี 2566 เป็นต้นไป 



 

 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้