NAD 3020 ในมุมมองของ What Hi-Fi

12819 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เขียนโดย Ketan Bharadia จาก What Hi-Fi

ถ้าเราจะทำลิสต์เครื่องขยายเสียงสเตอริโอที่มีบทบาทในวงการเครื่องเสียงตลอดกาล รับรองว่า NAD 3020 ออริจินอล จะต้องติดลิสต์ด้วยอย่างแน่นอน NAD 3020 ได้ถูกกล่าวขานว่าเป็นแอมพลิฟายเออร์ที่ขายดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่จะได้คะแนนสูงสุดในลิสต์ของเรา แต่เราเชื่อว่าสิ่งที่ 3020 ให้นั้นมีมากกว่าแค่ "คุ้มค่าราคา"แน่นอน

NAD 3020 เปิดตัวในปี 1979 ด้วยราคาเพียง 71 ปอนด์และถือเป็นการเปิดตัวแบรนด์ NAD (New Acoustic Dimension) ในฐานะบริษัทที่มีความสำคัญในวงการเครื่องเสียง (นักเล่นเครื่องเสียงจะรู้จักแบรนด์นี้เป็นอย่างดี) 3020 ไม่ใช่โพรดักส์รุ่นแรกที่บริษัททำ แต่เวลาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าดีกว่าเจ้าอื่นๆ


3020 เน้นหลักของความเรียบง่ายที่ NAD ได้เป็นมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทและได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์ที่คุ้มค่า-คุ้มราคา (value-for-money brand) และได้ขยายตลาดสำหรับสินค้าประเภทเครื่องขยายสัญญาณที่มีคุณภาพสูงแต่ราคาย่อมเยา

กำลังขับของ NAD รุ่นนี้ ได้รับการออกแบบมาอย่างชาญฉลาด ทำให้เราสัมผัสได้ว่ามันมีกำลังขับมากกว่า 20 วัตต์/แชนแนล ตามที่ได้เคลมไว้ และยังทำงานได้จริงกับลำโพงในโลกนี้ที่มีความซับซ้อน ไม่ใช่แค่ดีอยู่ในห้องทดลองเท่านั้น



NAD ไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรมากกว่าตัวอื่น แต่นั่นก็ไม่ได้สำคัญมากนักเมื่อราคาที่จ่ายคุ้มค่ากับคุณภาพเสียงที่ได้รับ เมื่อผู้คนได้ฟังก็จะเข้าใจว่า 3020 มีข้อดีกว่าตัวอื่นอย่างไร


3020 ได้ถูกประกอบมาอย่างดี รุ่นแรกสุดมาพร้อมกับหัวเข็มแบบแม่เหล็กเคลื่อนที่ (Moving magnet phono) และเพิ่มตัวเลือกอย่างขดลวดเคลื่อนที่ (moving coil) ในเวอร์ชั่นต่อมา และยังมี in-put สองระดับและห่วงเทปซึ่งเพียงพอในยุคนั้นที่เครื่องเล่นแผ่นเสียงเป็นที่นิยมสุดขีด และโดยปกติส่วนจ่ายไฟที่จะเชื่อมกับสายภายนอกก็สามารถถอดออกได้อย่างง่าย ทำให้สามารถใช้แยกกันได้หากต้องการจะอัพเกรด

ในส่วนของด้านหลังจะพบกับแผงเชื่อมต่อแบบหันหน้าแบบไม่ปกติ ตรงนี้จะเป็นส่วนของตัวเลือกสำหรับพาวเวอร์แอมป์อินพุต ส่วนที่ระบุว่า normal in คือ bandwidth ที่เอาไว้ขจัดเสียงรบกวนที่ไม่ต้องการทั้งด้านล่างและด้านบนของช่วงความถี่เสียง แนวคิดของมันคือเพื่อป้องกันไม่ให้วงจรพาวเวอร์ของแอมป์ทำงานเกินควรในการเพิ่มสัญญาณของเสียงที่ไม่ต้องการเหล่านี้

อินพุตพาวเวอร์แอมป์อื่นๆ เรียกว่า Lab In เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงโดยที่ไม่ได้มีการกรอง ถ้าจะให้เปรียบเทียบกัน Lab In จะฟังดูเสียงใส และชัดเจนกว่าเล็กน้อย แต่ก็ให้ความรู้สึกที่แข็งกระด้างขึ้นด้วยเช่นกัน



ฟีเจอร์อื่นๆ เรียกว่า Soft Clipping แนวคิดของการสลับวงจรนี้ได้คือการจำกัดเอาท์พุตของ 3020 เมื่อเร่งโวลลุ่มไปที่เสียงระดับสูง เพื่อหลีกเลี่ยงความพร่ามัวและความผิดเพี้ยน หลังจากการเปรียบเทียบของผม ผมก็ปิดสวิตช์ตัวนี้เนื่องจากเสียงที่ได้นุ่มเกินไปนิดหน่อยและไม่ใช่ทางของผม

ในช่วงแรกๆ 3020 ไม่ได้มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือเท่าทุกวันนี้ มันแค่ถือได้ว่ามีคุณภาพดีในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ทำให้ตัวนี้ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด แต่ยังไงก็ตาม การประกอบที่ดีขึ้นในทุกๆรุ่น แม้แต่ขั้วต่อลำโพงแบบสปริงคลิปที่เคยดูไม่สวยก็ยังถูกทำให้เหมาะสมกับการต่อสายลำโพง

NAD ยังคงไม่หยุดยั้งในการพัฒนาการออกแบบอย่างต่อเนื่อง ผลทำให้ได้เสียงที่ดีขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น และมีความพิถีพิถันมากขึ้น โดยจัดการเอาสวิตช์ต่างๆที่ไม่จำเป็นออกเพื่อทำให้เส้นทางของสัญญาณดีขึ้น แม้แต่วงจรของ 3020 ยังถูกแยกออกมาเพื่อสร้างเวอร์ชั่น pre-amp อย่างเดียวนั่นคือรุ่น 1020



ทางบริษัทได้ส่งตัวอย่างรุ่นเก่ามาเป็นตัวอย่างให้ผมสำหรับฟีเจอร์นี้ แม้ว่าจะผ่านไป 4 ทศวรรษแล้ว มันยังดูดีอยู่เลย ทุกอย่างยังทำงานได้สมบูรณ์มีแค่ปุ่ม LED Power ที่ไม่ติดเท่านั้นเอง

มันช่างเป็นความอิ่มเอมที่ได้ใช้ของที่สุดแสนจะเบสิค เรียบง่าย แต่ก็ใช้งานได้ดีแบบนี้ การที่ไม่มีรีโมตก็ยังสามารถใช้งานได้ ปุ่มควบคุมต่างๆทั้งแบบหมุนและปุ่มกดแทบจะไม่มีความซับซ้อนอะไรเลย แต่ก็ไม่ได้ลดทอนเสน่ห์ในการทำงานลงแม้แต่น้อย

ผมใช้เวลาสองสามวันในการอุ่นเครื่องแอมพลิฟายเออร์ จากนั้นจึงเริ่มลองฟังอย่างจริงจัง โดยใช้ลำโพงหลากหลายทั้ง เครื่องเล่นเพลงสตรีมมิ่งอย่าง Naim ND555/555PS DR และลำโพงวางพื้น ATC SCM50 ไปจนถึงเครื่องเล่นซีดีที่มีราคาเหมาะๆ อย่าง Marantz CD6007 และแท่นวาง Oberon 1 ของ Dali ผมยังใช้ Rega Planar 3/Elys 2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ NAD กับไวนิลด้วย

ภาคโฟโนของ 3020 ถูกยกย่องว่าดีมากในช่วงเวลานั้น และเสียงยังคงเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา สดใสและเปิดเผย ในขณะที่เสียงรบกวน (noise) ได้รับการควบคุมอย่างดีแทบจะไม่มีมากวนใจความบันเทิงของเราเลย


จริงๆนี่ไม่ใช่แสตนดาร์ดของแอมพลิฟายเออร์ในงบประมาณจำกัดตามปัจจุบัน หลายๆสิ่งเปลี่ยนไปในแง่ของความชัดเจน จังหวะไดนามิค และจังหวะที่แม่นยำในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่นั่นไม่ได้ทำให้ 3020 หมดความน่าสนุก มันยังคงให้ความสนุกสนานแก่ผู้ฟังโดยให้เสียงที่ราบรื่น ยิ่งใหญ่ที่ดึงดูดคนฟังตั้งแต่โน้ตตัวแรกจนถึงโน้ตตัวสุดท้าย

Line input ได้แบ่งเสียงของภาคโฟโน NAD ได้ทำการรวมเสียงพวกนี้ให้ทรงพลังมากขึ้นกว่ากำลังขับเพียง 20วัตต์ ตามที่ได้ระบุไว้เสียอีก เสียงที่ได้จาก 3020 นั้นดังอิ่มเต็มห้อง และเป็นเสียงที่จริงอย่างแท้จริง

ในส่วนของรายละเอียดโดยรวมอาจจะไม่มีอะไรหวือหวา แต่เจ้าแอมพลิฟายเออร์นี้มีความยอดเยี่ยมในการส่งข้อมูลที่มีความสอดคล้องกันในเสียงเพลง และเป็นโพรดักส์ที่ไม่เหมือนใครที่ให้เสียงเพลงเป็นพระเอกเท่านั้น (Leaves the music in the spotlight.)

แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 3020 โดนวิจารณ์ว่าเสียงเบสนั้นมากเกินไปเล็กน้อย หน้าตาเครื่องของเครื่องดูไม่โดดเด่น และสิ่งเหล่านี้ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นในปัจจุบัน แต่น่าแปลกที่ข้อวิจารณ์เหล่านี้ไม่ได้มาทำลายความบันเทิงของเราแต่อย่างใด


ประเด็นเรื่องหน้าตาของเครื่อง ได้รับการปรับปรุง เมื่อวิศวกรของ NAD ค้นพบว่าพวกเขาทำผิดพลาดเล็กน้อยในแผงวงจรของรุ่นแรกที่เพิ่มการขวางกั้นระหว่างช่อง แน่นอนเมื่อพบแล้วก็ต้องแก้ไข ตลกตรงที่มีคนบอกว่าแอมพลิฟายเออร์ได้สูญเสียเสน่ห์ของเสียงไปเล็กน้อยจากการแก้ไขครั้งนี้ และแน่นอนมีบางคนที่ไม่พอใจสิ่งนี้ !

ไม่มีโพรดักส์ชิ้นไหนที่จะสมบูรณ์แบบ และจะคาดหวังถึงการออกแบบเมื่อยุค40ปีที่แล้วจะทันสมัย ยังไงก็ตามเราก็ยังคงหลงใหล 3020 อยู่ดี ห้องที่เราทดสอบนั้นถึงจะมีตัวเลือกอื่นที่ยอดเยี่ยมและหลากหลาย แต่เราก็ยังฟังเจ้า 3020 นี้ได้นานกว่าที่เราต้องการซะอีก  

ผมชอบในเอนเนอจี้ของมันและวิธีที่มันกระตุ้นให้เราเล่นอีกสักเพลงต่อๆไปเรื่อยๆ นั่นคือความสำเร็จที่แท้จริงของ NAD 3020 และถือเป็นหนึ่งในโพรดักส์ที่ดีที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมวงการเพลงเคยมีมาเลยทีเดียว

 

อ่านเวอร์ชั่นต้นฉบับได้ ที่นี่

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้